หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประกาศให้มีการเปิดหีบอ้อยในฤดูการผลิตปี 2563/2564 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยต้องใช้เวลาหีบอ้อยไม่เกิน 5 เดือน สำหรับพื้นที่ จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 28 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด 19 จากข้อมูลรายงานผลการสํารวจพื้นที่ปลูกอ้อย ประจำปีการผลิต 2562/63 จ.ราชบุรี ที่ผ่านมานั้น มีพื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 189,000 ไร่ มีปริมาณอ้อย ส่งเข้าโรงงานกว่า 1,200,000 ตัน และเริ่มมีการเปิดหีบอ้อยในฤดูการผลิตปี 2563/2564 เมื่อวันที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมา
นายสุวัฒน์ แต่งตามพันธ์ เกษตรกรชาวไร่อ้อย ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เปิดเผยว่า ตนรับช่วงทำไร่อ้อยกว่า 400 ไร่ มาจากคุณพ่อ และสามารถผลิตอ้อยได้น้ำหนักประมาณ 15 ตันต่อไร่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในขณะนี้ ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานข้ามชาติได้นำเชื้อไวรัสเข้ามา ในส่วนของตนและเพื่อนเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ จ.ราชบุรี ที่อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งโรงงานน้ำตาล ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากปัจจุบันได้หันมาใช้รถตัดอ้อยทดแทนการใช้แรงงานคนที่หายาก อีกทั้งรถตัดอ้อยยังทำงานได้รวดเร็ว คล่องตัว ประหยัดกว่า แก้ปัญหาการเผาอ้อย และลดค่าฝุ่น PM 2.5 แต่ในบางพื้นที่ ที่แปลงปลูกอ้อยมีลักษณะบางจุดเป็นหิน ก็จะไม่สามารถใช้รถตัดอ้อยเข้าไปทำการตัดได้ ยังคงต้องพึ่งแรงงานอยู่ดี อันนี้ที่จะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
นายสุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัญหาใหญ่ของปีนี้ก็คือ ราคาอ้อยอยู่ที่ 920 บาทต่อตัน ในขณะที่มีต้นทุน ทั้งในเรื่องของ ค่าแรงงานปลูก ค่าปุ๋ย ค่ารถตัด และค่ารถบรรทุก คิดเป็นในส่วนของต้นทุนมากกว่าร้อยละ 70 เมื่อคำนวนแล้วหากเป็นอ้อยที่ปลูกในปีแรก เกษตรกรแทบไม่เหลืออะไรเลย เกษตรกรต้องรอผลผลิตจากอ้อยตอในรอบที่ 2 และ 3 ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าต้นพันธุ์ของการปลูกลงได้บ้าง ตลอดจนในปีที่ผ่านมา มีปัญหาในเรื่องของภัยแล้ง สภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ทำให้ผลผลิตลดลง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายเล็กๆ จึงต้องตัดสินใจเปลี่ยนผืนดินไปปลูกข้าวโพดที่ได้ราคาดีกว่าทดแทน จนปัจจุบัน พื้นที่การปลูกอ้อย ลดลงไปประมาณร้อยละ 30 ทั้งนี้ตนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายในส่วนของการประกันราคาขั้นต่ำที่ประมาณ 1,000 บาทต่อตัน หรือช่วยในส่วนของค่าปริมาณของน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อย หรือค่า CCS รวมไปถึงต้องการให้ภาครัฐลงพื้นที่ มาพูดคุยกับเกษตรกรตัวจริง นำปัญหาไปศึกษา หาทางแก้ไขให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน เป็นรูปธรรมต่อไป
นายสุวัฒน์ แต่งตามพันธ์ เกษตรกรชาวไร่อ้อย ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เปิดเผยว่า ตนรับช่วงทำไร่อ้อยกว่า 400 ไร่ มาจากคุณพ่อ และสามารถผลิตอ้อยได้น้ำหนักประมาณ 15 ตันต่อไร่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในขณะนี้ ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานข้ามชาติได้นำเชื้อไวรัสเข้ามา ในส่วนของตนและเพื่อนเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ จ.ราชบุรี ที่อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งโรงงานน้ำตาล ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากปัจจุบันได้หันมาใช้รถตัดอ้อยทดแทนการใช้แรงงานคนที่หายาก อีกทั้งรถตัดอ้อยยังทำงานได้รวดเร็ว คล่องตัว ประหยัดกว่า แก้ปัญหาการเผาอ้อย และลดค่าฝุ่น PM 2.5 แต่ในบางพื้นที่ ที่แปลงปลูกอ้อยมีลักษณะบางจุดเป็นหิน ก็จะไม่สามารถใช้รถตัดอ้อยเข้าไปทำการตัดได้ ยังคงต้องพึ่งแรงงานอยู่ดี อันนี้ที่จะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
นายสุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัญหาใหญ่ของปีนี้ก็คือ ราคาอ้อยอยู่ที่ 920 บาทต่อตัน ในขณะที่มีต้นทุน ทั้งในเรื่องของ ค่าแรงงานปลูก ค่าปุ๋ย ค่ารถตัด และค่ารถบรรทุก คิดเป็นในส่วนของต้นทุนมากกว่าร้อยละ 70 เมื่อคำนวนแล้วหากเป็นอ้อยที่ปลูกในปีแรก เกษตรกรแทบไม่เหลืออะไรเลย เกษตรกรต้องรอผลผลิตจากอ้อยตอในรอบที่ 2 และ 3 ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าต้นพันธุ์ของการปลูกลงได้บ้าง ตลอดจนในปีที่ผ่านมา มีปัญหาในเรื่องของภัยแล้ง สภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ทำให้ผลผลิตลดลง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายเล็กๆ จึงต้องตัดสินใจเปลี่ยนผืนดินไปปลูกข้าวโพดที่ได้ราคาดีกว่าทดแทน จนปัจจุบัน พื้นที่การปลูกอ้อย ลดลงไปประมาณร้อยละ 30 ทั้งนี้ตนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายในส่วนของการประกันราคาขั้นต่ำที่ประมาณ 1,000 บาทต่อตัน หรือช่วยในส่วนของค่าปริมาณของน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อย หรือค่า CCS รวมไปถึงต้องการให้ภาครัฐลงพื้นที่ มาพูดคุยกับเกษตรกรตัวจริง นำปัญหาไปศึกษา หาทางแก้ไขให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน เป็นรูปธรรมต่อไป
วอนรัฐบาลประกันราคาอ้อย ตันละ 1 พันบาท เชื้อไวรัสโควิดระบาด กระทบแรงงานตัดอ้อยบางพื้นที่
Reviewed by ข่าวลุงเขี้ยว
on
มกราคม 08, 2564
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: